การประชุมวิชาการระดับชาติ ปอมท. 2564

 

เรื่อง ยืดหยุ่นอุดมศึกษาไทย ในห้วงเวลาที่พลิกผัน"

(Resilient Thai Higher Education in Time of Disruption)Download เอกสารการจัดโครงการ

หลักการและเหตุผล

ตลอดทศวรรษที่ผ่านมา สถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยมีความพยายามในการพัฒนาและปรับตัวเพื่อรองรับกับการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลก อาทิเช่น กระแสโลกาภิวัฒน์ของเศรษฐกิจโลก (Globalization)การเผชิญกับสังคมสูงอายุ (Aging Society) การแข่งขันทางการศึกษาที่รุนแรง การอยู่ในโลกยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีเข้ามามอิทธิพลตอวิถีชีว วิกฤตจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อสังคม การศึกษา และเศรษฐกิจเป็นวงกว้าง และอื่น ทุกอย่างที่กล่าวมาล้วนมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและเป็นไปอย่างก้าวกระโดด ส่งผลต่อการจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาในปัจจุบันทั้งภาพรวมของประเทศและรายสถาบัน ท่ามกลางการพัฒนาที่เป็นไปตามความเปี่ยนแปลงของกระแสโลกดังกล่าวสถาบันอุดมศึกษายังต้องปรับตัวอีกหลายประการ อาทิ การปรับเปลี่ยนสถานะจากมหาวิทยาลัยในสังกัดของรัฐสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ เพื่อให้มีความเป็นอิสระ คล่องตัว มีประสิทธิภาพ และมีเสรีภาพทางวิชาการและการบริหารจัดการ ดำเนินงานภายใต้การกำกับดูแลของสภามหาวิทยาลัย โดยมีรัฐกำกับด้านนโยบายและมาตรฐานและให้การอุดหนุนงบประมาณแบบเงินอุดหนุนทั่วไป (Block Grant) แต่อย่างไรก็ตามในสถานการณ์ปัจจุบันที่รัฐบาลมีงบประมาณการใช้จ่ายอย่างจำกัดทำให้ระบบการจัดสรรงบประมาณของรัฐมีการเปลี่ยนแปลงไปจากรูปแบบเดิมทั้งในด้านการขอรับการจัดสรร และวิธีการใช้จ่ายงบฯ ส่งผลให้สถาบันอุดมศึกษาไทยต้องแสวงหารายได้เพื่อพึ่งพาตัวเองมากขึ้น ทำให้อาจกลายเป็นธุรกิจการศึกษาต่อไปในอนาคต

การเปลี่ยนแปลงเรื่องจำนวนนักศึกษาที่ลดลงในหลายสถาบันทั้งในระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา ส่งผลให้มหาวิทยาลัยต่างๆต้องแข่งขันกันเพื่อแย่งนักศึกษา ต้องสร้างความโดดเด่นทางด้านการศึกษาและวิจัยมีการเปิดรับเสรี และมีการเปิดหลักสูตรใหม่เป็นจำนวนมาก ทั้งหลักสูตรภาคปกติ ภาคสมทบ ภาคพิเศษ และหลักสูตรนานาชาติ ทั้งระดับปริญญาตรี โท และเอก บางหลักสูตรผลิตบัณฑิตปริมาณมากแต่มีคุณภาพไม่เพียงพอ ไม่ตรงกับความต้องการของประเทศ ทำให้พบว่ามีบัณฑิตระดับปริญญาตรีไปทำงานต่ำกว่าคุณวุฒิและไม่ตรงกับสายงานจำนวนมาก ส่วนในด้านการจัดการเรียนการสอนต้องมีการปรับเปลี่ยนเรื่องรูปแบบและวิธีการจัดการศึกษา เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในยุคของ Digital Disruption และ AI ที่ก้าวเข้ามาในวงการอุดมศึกษาอย่างรวดเร็ว ทำให้มหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ต้องมีการแข่งขันกันอย่างมากในการพัฒนาตนเอง เพื่อความอยู่รอดในยุค Disruption และการเป็นผู้นำที่ได้รับการยอมรับในวงการต่างๆ 

   นอกจากนี้ การกำหนดนโยบายที่เน้นผลิตบัณฑิตสาขาที่ขาดแคลนและเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน จึงต้องมีการพัฒนาหลักสูตรสหกิจศึกษา โดยให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น เพื่อองค์กรจะได้บุคลากรตรงตามที่ต้องการ อันจะสอดรับกับนโยบายรัฐบาล ภายใต้นโยบาย Thailand 4.0 ที่มีความต้องการให้สถาบันอุดมศึกษาร่วมมือกับภาคเอกชน มุ่งผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ สร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อขับเคลื่อนไปสู่มหาวิทยาลัยระดับโลก (World Class University) ซึ่งเป็นช่องทางหนึ่งในการสร้างรายได้เข้าสู่มหาวิทยาลัย

การทำงานวิจัยที่นำไปสู่การสร้างนวัตกรรมและสู่เชิงพาณิชย์ ซึ่งจะเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ อย่างไรก็ตาม การขับเคลื่อนของสถาบันอุดมศึกษาไทยเพื่อสามารถแก้ปัญหาและทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ได้อย่างเป็นรูปธรรมท่ามกลางวิกฤตการณ์ต่างๆเหล่านี้ สถาบันอุดมศึกษาไทยต้องพัฒนาตนเองเพื่อให้สามารถรับมือต่อวิกฤตที่เข้ามากระทบและสามารถก้าวพ้นวิกฤติดังกล่าวนั้นให้ได้ ซึ่งถือเป็นคุณลักษณะสำคัญของการเป็นองค์กรแบบ Resilient Organization อันยึดหลักแนวคิดในการบริหารจัดการองค์กรที่มุ่งเน้นความยืดหยุ่น 

ที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท.) ในฐานะที่เป็นองค์กรเครือข่ายหนึ่งของสถาบันอุดมศึกษา ได้ตระหนักถึงปัญหาการศึกษาและความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จึงเห็นสมควรมอบหมายให้สภาพนักงานมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับสภาพนักงานมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และสภาพนักงานมหาวิทยาลัยพะเยา เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมทางวิชาการประจำปี พ.ศ.2564 ภายใต้หัวข้อ เรื่อง ยืดหยุ่นอุดมศึกษาไทยในห้วงเวลาที่พลิกผันเพื่อเป็นเวทีให้บุคลากรทางการศึกษาได้แลกเปลี่ยนความคิดหรือมุมมองต่อปัญหาอุดมศึกษาไทย และวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่การเตรียมความพร้อมและสามารถปรับตัวเพื่อรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน โดยจัดให้มีการบรรยายพิเศษจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ การเสวนาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ การนำเสนอผลงานการวิจัยของ รู อาจารย์ บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ และบุคลากรทั่วไป ในรูปแบบของการนำเสนอด้วยวาจาและโปสเตอร์ พร้อมกันนี้ ปอมท.ได้จัดให้มีพิธีรับโล่รางวัลพระราชทาน “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาต ประจำปี 2564 จำนวน 6 สาขา ได้แก่ สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี สาขามนุษยศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์ สาขาศิลปศาสตร์ และสาขารับใช้สังคม เพื่อเชิดชูเกียรติอาจารย์ที่ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยของรัฐที่มีความรู้ความสามารถในเชิงวิชาการ มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ มีคุณธรรม จริยธรรม มนุษยสัมพันธ์ และอุทิศตนเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ ให้เป็นตัวอย่างแก่บุคลากรทางการศึกษาและเพื่อผดุงเกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นอาจารยมหาวิทยาลัย

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้ระดมความความคิดเห็นในการปรับปรุงและพัฒนาระบบการศึกษาไทย
ภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ
2. เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ที่พึงประสงค์ของกระทรวงอุดมศึกษา สถาบันการศึกษา ผู้บริหารและบุคลากร ในสถานศึกษาต่อปัญหาการศึกษาของชาติ
3. เพื่อเป็นเวทีเผยแพร่และการประกวดผลงานทางวิชาการ การวิจัยด้านการเรียนการสอนสาขาต่าง ๆ การบูรณาการการวิจัยกับการเรียนการสอนและการนำไปใช้ประโยชน์แก่สังคม
4. เพื่อเชิดชูเกียรติผู้ได้รับรางวัล“อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ”ประจำปี พ.ศ.2564 ของที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย(ปอมท.)

 ผู้รับผิดชอบ

1.ที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท.)
2.สภาพนักงานมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
3.สภาพนักงานมหาวิทยาลัยแม่โจ้
4.สภาพนักงานมหาวิทยาลัยพะเยา
 
 
 

 

 

 

 

 





โครงการประชุมวิชาการระดับชาติ ปอมท. ประจำปี 2564

18 – 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
ณ สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่





Copyrights © All Rights Reserved by โครงการประชุมวิชาการระดับชาติ ปอมท. ประจำปี 2564